Page 15 - คู่มือหลักสูตรอบรมวิทยากร การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง สำหรับบุคลากรสถานศึกษา และ บุคลากรสาธารณสุข
P. 15
ทำ�คว�มรู้จักก�รทำ�กิจกรรมทั้ง 5 ขั้นตอน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คือ ครูที่ปรึกษาทำาความรู้จักและเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน ความ
เสี่ยง หรือปัญหาของนักเรียนแต่ละคน จากนั้นนำาข้อมูลมาวิเคราะห์ ทำาการคัดกรอง เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมป้องกัน
และแก้ไขปัญหานักเรียน โดยมีวิธีการและเครื่องมือในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่
- ระเบียนสะสม
- แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (Strengths and Difficulties Questionnaire : SDQ)
- การเยี่ยมบ้านนักเรียน
- แบบประเมินหรือแบบสังเกตพฤติกรรมเฉพาะด้าน เช่น แบบทดสอบการติดเกม (GAST) แบบประเมิน
ความฉลาดทางอารมณ์(EQ) แบบประเมินต้นทุนชีวิต(DA) แบบประเมินพฤติกรรม เป็นต้น (รายละเอียด
การใช้เครื่องมือสามารถดูได้จากคู่มือการดำาเนินงาน (OHOS)
2. การคัดกรองนักเรียน คือ การนำาข้อมูลทั้งหมดของนักเรียนที่ได้จากเครื่องมือและวิธีการต่างๆ จากการรู้จักนักเรียน
เป็นรายบุคคลมาทำาการวิเคราะห์ และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา
3. การส่งเสริมพัฒนานักเรียน คือ การสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพให้มีความภาค
ภูมิใจในตนเอง ปรับตัวเผชิญปัญหา ทำาหน้าที่ตามวัยของตนได้อย่างปกติ ช่วยป้องกันไม่ให้นักเรียนกลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่ม
เสี่ยง หรือกลุ่มมีปัญหา โดยผ่านกิจกรรมหลักสำาคัญ ได้แก่ การจัดกิจกรรมโฮมรูม และการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา คือ กระบวนการใช้เทคนิคและทักษะต่างๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
กลุ่มเสี่ยงกับกลุ่มที่มีปัญหา เพื่อป้องกันและแก้ไขไม่ให้ปัญหานั้นซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยผ่านกิจกรรมช่วยเหลือ สำาหรับครูที่
ปรึกษาพิจารณาเลือก มากกว่า 1 กิจกรรม ดังนี้
1. การให้การปรึกษาเบื้องต้น
2. การปรับพฤติกรรมด้วยกิจกรรมในชั้นเรียน
3 .กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน/จับคู่ Buddy
4. การสื่อสารกับผู้ปกครอง
5. กิจกรรมซ่อมเสริม
6. กิจกรรมเสริมสร้างหลักสูตร
7. กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
8. กิจกรรมอื่นๆ เช่น การประชุมปรึกษารายกรณี (Case Conference) ในโรงเรียน
5. การส่งต่อนักเรียน คือ การดำาเนินการกรณีที่บางปัญหาของนักเรียนมีความยุ่งยากซับซ้อน ครูที่ปรึกษาและครู
แนะแนวให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนแต่พบว่า นักเรียนยังมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้น ควรทำาการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อ
ไป การส่งต่อมี 2 กรณี ดังนี้
1. การส่งต่อภายใน คือ กรณีที่ครูที่ปรึกษาได้ดำาเนินการช่วยเหลือแล้วไม่ดีขึ้น จึงส่งต่อนักเรียนให้ครูแนะแนว
หรือฝ่ายกิจการนักเรียนดำาเนินการให้การปรึกษา และช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไป
2. การส่งต่อภายนอก คือ การช่วยเหลือนักเรียนที่สถานศึกษาขอการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก
เมื่อพบว่านักเรียนมีปัญหาซับซ้อนและต้องการความช่วยเหลือเฉพาะทาง โดยมีบุคลากรผู้รับผิดชอบประสานกับ
สถานบริการสาธารณสุขคู่เครือข่าย ซึ่งมีการดำาเนินงานดังนี้
2.1 ร่วมเป็นที่ปรึกษา สนับสนุนเครื่องมือ/เทคนิคการช่วยเหลือนักเรียน
2.2 รับส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อนจากสถานศึกษาโดย ประสานแจ้งวัน เวลานัดหมาย
กับบุคลากรผู้ดูแลนักเรียน
2.3 ดำาเนินการช่วยเหลือโดยประสานงานกับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2.4 บันทึก สรุปรายงานผลการช่วยเหลือ และแจ้งผลแก่สถานศึกษา
คู่มือหลักสูตรอบรมวิทยากร การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
10
สำาหรับบุคลากรสถานศึกษา และบุคลากรสาธารณสุข