Page 16 - คู่มือหลักสูตรอบรมวิทยากร การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง สำหรับบุคลากรสถานศึกษา และ บุคลากรสาธารณสุข
P. 16
ใบคว�มรู้ที่ 2
เรื่อง “บริก�รดูแลสังคมจิตใจที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น”
การจัดระบบบริการการดูแลทางสังคมจิตใจในระดับโรงพยาบาลชุมชน มีการดำาเนินการในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น
YFHS TEEN CENTER ศูนย์พึ่งได้ ฯลฯ สถานบริการสาธารณสุขบางแห่งได้มีการให้บริการสุขภาพจิตเชิงรุกในชุมชน สถานศึกษา
สถานประกอบการ ฯลฯ สถานบริการบางแห่งได้มีการบูรณาการการดูแลจิตใจเข้าร่วมกับบริการปกติของโรงพยาบาล
แต่ยังไม่มีโครงสร้างหรือระบบที่บูรณาการกันอย่างชัดเจน แต่มีการจัดบริการการดูแลทางสังคมจิตใจที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา
โดยมีขั้นตอนการจัดระบบดังนี้(กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2557)
1. การเตรียมการ
1.1 ผู้บริหารของหน่วยงานมีการกำาหนดนโยบายในการจัดบริการดูแลทางสังคมจิตใจ กำาหนดผู้รับผิดชอบ
และ/หรือแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารการดำาเนินงาน
1.2 จัดระบบบริการการดูแลทางสังคมจิตใจ โดยประกอบด้วยด้านบุคลากร ด้านสถานที่และขีดความสามารถ
ของระบบบริการ
1.3 จัดทำาแผนงาน/โครงการ การดูแลทางสังคมจิตใจ
1.4 มีการสื่อสารภายในโรงพยาบาล เพื่อความร่วมมือในการดำาเนินงาน
1.5 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลทางสังคมจิตใจ ให้มีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน
1.6 มีการพัฒนาเครือข่ายและการพัฒนาระบบส่งต่อระหว่างเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
2. การดำาเนินงาน เป็นการจัดบริการดูแลทางสังคมจิตใจให้แก่ผู้รับบริการ ที่ได้รับการส่งต่อจากคลินิกต่างๆ ของ
โรงพยาบาล โรงเรียน สถานประกอบการ และผู้ที่เข้ามารับบริการโดยตรง
2.1 กำาหนดวันเวลาการให้บริการและประชาสัมพันธ์การให้บริการ
2.2 การให้บริการทางโทรศัพท์
2.3 การให้บริการทางสังคมจิตใจเชิงรุก ได้แก่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
ในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ การรณรงค์ การให้ความรู้สุขภาพจิตผ่านหอกระจายข่าว หรือเสียงตามสาย
ของสถานประกอบการ ฯลฯ
3. การขยายเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดบริการที่ครอบคลุมและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง เช่น
จับคู่เชื่อมโยงโรงเรียน-โรงพยาบาล โรงพยาบาล-สถานประกอบการ เพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่
และประสานกับ อบต.ในการสนับสนุนช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กลุ่มญาติผู้ป่วยจิตเวช/แกนนำาในชุมชนให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวช
อย่างต่อเนื่องเชื่อมต่อระบบการช่วยเหลือทางสังคม บ้านพักฉุกเฉิน
4. การจัดระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่
คู่มือหลักสูตรอบรมวิทยากร การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง 11
สำาหรับบุคลากรสถานศึกษา และบุคลากรสาธารณสุข