Page 10 - มาตรฐานบริการ การให้การปรึกษาวัยรุ่น สำหรับบุคลากรสาธารณสุข
P. 10
บทที่ 2
แนวทำงกำรใช้ มำตรฐำนบริกำรกำรให้กำรปรึกษำวัยรุ่น ส�ำหรับบุคลำกรสำธำรณสุข
สถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับที่ต้องการพัฒนาบริการ การให้การปรึกษาวัยรุ่น สามารถ
ใช้มาตรฐานและเกณฑ์การประเมินคุณภาพในเล่มนี้ เป็นแนวทางในการพัฒนาและประเมินตนเอง โดยสถานบริการ
ควรตั้งเป้าหมายระดับความสำาเร็จของแต่ละเกณฑ์มาตรฐานในระดับดี (3) ถือเป็นเกณฑ์กลางที่บ่งบอกถึงคุณภาพ
บริการการให้การปรึกษาที่ได้มาตรฐานครบองค์ประกอบ ส่วนหน่วยงานที่มีนโยบายในการพัฒนางานการให้
การปรึกษาวัยรุ่นสู่ความเป็นเลิศ สามารถใช้เกณฑ์ระดับดีมาก (4) และระดับดีเลิศ (5) เป็นแนวทางในการพัฒนา
ต่อไปได้
หมายเหตุ: หน่วยบริการจะต้องผ่านเกณฑ์ขั้นตำ่าตามลำาดับขึ้นไป หมายถึง เกณฑ์ในระดับที่สูงขึ้น
หมายถึงต้องผ่านเกณฑ์ระดับก่อนหน้าทั้งหมดแล้ว จึงจะถือว่าได้คะแนน เช่น ได้ระดับ 4 หมายถึง ผ่านเกณฑ์
ระดับ 1-3 และเข้าถึงเกณฑ์ระดับ 4 แล้ว จึงถือว่าได้ 4 คะแนน
2.3. ค�ำนิยำมศัพท์
คำาศัพท์ นิยาม
กระบวนการพื้นฐาน ขั้นตอนในการให้บริการให้การปรึกษา ได้แก่
ในการให้การปรึกษา (1) สร้างสัมพันธภาพและการตกลงบริการ
5 ขั้นตอน (2) สำารวจปัญหา
(3) เข้าใจปัญหา
(4) วางแผนแก้ไขและพิจารณาทางเลือก
(5) ยุติบริการ
ซึ่งในการบริการแต่ละครั้งอาจไม่จำาเป็นต้องครบทุกขั้นตอน และอาจไม่จำาเป็น
ต้องเรียงลำาดับขั้นตอนในการให้บริการ (รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก 3)
การจัดการความรู้ กระบวนการนำาความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เป็นประโยชน์และสำาคัญต่อองค์กรมา
(KM: Knowledge จำาแนก วิเคราะห์ จัดระเบียบ ดึงเอาความรู้ที่กระจัดกระจาย ฝังอยู่ทั่วไปภายใน
Management) องค์กรออกมารวบรวม และแบ่งกลุ่ม จัดเก็บให้เป็นองค์ความรู้ขององค์กร เพื่อ
ให้ง่ายต่อการเข้าถึงและเผยแพร่ การผสมผสาน การสังเคราะห์ รวมทั้งมีการใช้
อย่างสร้างสรรค์ เพื่อจะได้นำาองค์ความรู้นั้นไปพัฒนาความสามารถในการดำาเนิน
งานได้อย่างชาญฉลาด มีประสิทธิภาพ และคุณค่า รวมถึงการส่งเสริมให้บุคลากร
ได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือนวัตกรรมให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงานในอนาคต
มาตรฐานบริการการให้การปรึกษาวัยรุ่น สำาหรับบุคลากรสาธารณสุข 5